Inhaler

 

การสูดยาเป็นการรักษาโรคหืดที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากยาจะเข้าสู่ทางเดินหายใจโดยตรงจึงออกฤทธิ์ได้เร็วและให้ผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายากินหรือการฉีดPDMI( Pressurized Method Dose Inhaler) ซึ่งเป็นยาพ่น(Inhaler)ชนิดแรกที่ผลิตมากกว่า 60ปี และยังคงเป็นที่นิยมใช้

อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเครื่องช่วยสูดยาที่

-มีประสิทธิภาพสูง

-ราคาถูก

-ใช้งานได้ง่าย หากได้รับการสาธิตการใช้ได้ถูกต้อง

-การดูแลง่ายและปลอดภัยจากการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับเครื่องnebulizer 

1.   วิธีการสูดยาที่ได้ผลคือฝึกให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าช้าๆ และ ลึกๆ  (การกลั้นหายใจจะช่วยให้ละอองของยามีโอกาสติดทางเดินหายใจได้ดีขึ้น ในการกลั้นใจ 10 วินาทีพบว่าผลการขยายหลอดลมจาก  Branch validator จะสูงกว่าการกลั้นหายใจ วินาที)

2.   pMDIใช้ได้ในอายุเท่าใด 

ใช้ได้ทั้งในทารกและผู้สูงอายุ

 3.   เป็นต้องใช้Spacer หรือไม่

การใข้pDMIที่ได้ผลต้องกดหลอดยา(Canister)ในจังหวะหายใจเข้า ด้วยแรงอัดจะช่วยให้ยาสามารถเข้าทางเดินหายใจได้ดี ผู้ป่วยจำนวนมากไม่สามารถปรับจังหวะหารหายใจเข้าให้สัมพันธ์กับการกดหลอดยาSpacer จึงใช้เป็นreserviceไม่ให้ยากระจายไปในอากาศ ผู้ป่วยสามารถสูดยาจาก Spacer ได้

 

     การมีSpacerทีมีความยาวพอเหมาะนอกจากจะได้ละอองยาที่มีความเร็วลดลง ยังเป็นละอองยาที่มีขนาดเล็ก สามารถเข้าทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็ก (Small Airways) ได้ดีขึ้น ทำให้ผลการรักษาในระยะยาวจะดี เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่า ผู้ป่วยที่มี การทำงานของทางเดินหายใจขนาดเล็ก(Small Airway function)ผิดปกติจะมีโอกาสกลับมาเป็นโรคหืดได้อีก เมื่อติดตามไป50 ปี หรือมีโอกาสหอบซ้ำจากได้สูงกว่ากลุ่มที่มีสุขภาพปอดปกติ ดังนั้น การสูดยาที่เข้าถึงหลอดลมขนาดเล็กจึงสำคัญ ช่วยให้การอักเสบ(inflammation) ที่ทางเดินหายใจขนาดเล็กได้รับการรักษา ซึ่งนอกจากจะมีขนาดเล็กถึง 2 ไมครอนแล้วยังต้องอาศัยการสูดยาของผู้ป่วยที่ต้องหายใจเข้าช้าๆ

pDMIจึงเน้นความสำคัญของการสูดเข้าช้าๆลึกๆและถ้ากลั้นหายใจได้ 10 วินาทีการรักษาจะได้ผลดีกว่า

ในเด็ก ที่เราต้องการให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าตลอดเท่าที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ แทนการการบอกให้กลั้นใจเพราะผู้ป่วยอาจจะสับสนและหยุดการสูดยา

            การใช้Spacerจะช่วยลดปริมาณยาที่เกาะติดในคอ หากสูดการสูดยาพ่น โดยตรงก็อาจจะมีผลข้างเคียงสูงกว่าโอกาสที่ยาจะเข้าสู่ ทางเดินหายใจก็จะลดลง

4.   Spacerที่ใช้ควรมีวาร์ว(Valve)หรือไม่

Spacer ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดปัญหาในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเข้าในจังหวะที่กดยา และมียาพุ่งออกมา

ซึ่งวาร์วที่ยังปิดอยู่ในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่ได้หายใจเข้า แต่ยาพุ่งออกมาแล้ว ทำให้ยาส่วนหนึ่งจะกระแทกไปบนวาร์วที่ขวางอยู่และแรงพุ่งจาก Pressurized Inhaler ก็ย่อมจะแผ่วลง แต่ยาก็ยังจะกระจายอยู่ในSpacer รอให้ผู้ป่วยสูด

 

 

 

จากการศึกษาของ รศพญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย ซึ่งดูประสิทธิภาพของ Salbutamal 400 ไมโครกรัม ต่อการขยายหลอดลมในทางเดินหายใจที่มีขนาดเล็ก ในผู้ป่วยกลุ่มละ20ราย โดยใช้pDMI ต่อกับSpacer ชนิดที่มีValve คือ Volume Trixเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ Cone Spacer (001)ครอบปากกับจมูก และกลุ่มที่ใช้ปากดูด (Valve 008) พบว่าผูป่วยทุกรายมีค่าการทำงานของทางเดินหายใจขนาดเล็ก(Small Airway function)ต่ำกว่า 65% ที่คาดคะเน (ซึ่งเป็นค่าที่คิด จาก MMEFMaximal Mid-Experatory Flow Rate หรือ FEV 25-75)

(Force Exporatory Volume at 25-75%) (เสริมรูป)

 5.   Plastic ที่ใข้ทำSpacer ต้องเลือกใช้ที่ต้าไฟฟ้าสถิต เพื่อลดความสูญเสียละอองไปบนผนังSpacer

 

สรุป

      ยาสูดเป็นยาหลักสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรคหืด การใช้ยาไม่ถูกวิธีจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการรักษา ไม่สัมฤทธิ์ผล Spacerเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยการใช้Inhaler ที่ไม่ถูกต้อง            การให้ความรู้และตรวจสอบ ความสามารถและกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ยาที่สม่ำเสมอ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ซึ่งป้องกันปัญหาในระยะยาวว่าผู้ป่วยโรคหืดจะมีสมรรถภาพของปอดลดลงเร็วกว่าหรือกลายเป็น(Irreversible airway Obstruction)ในอนาคต